–––•(-• l3aSic •-)•––-
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ภาพยนตร์และอื่นๆ

Go down

ภาพยนตร์และอื่นๆ Empty ภาพยนตร์และอื่นๆ

ตั้งหัวข้อ by Poseidon Sun Jul 04, 2010 9:15 am

ภาพยนตร์
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน การโต้กลับของมิวทู (Pokémon: The First Movie) (1999)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน กำเนิดโปเกมอนมายา ลูเกีย (Pokémon: The Movie 2000) (2000)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน ราชาแห่งหอคอยผลึก เอนเต้ (Pokémon 3: The Movie) (2001)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน เซเลบี้ ข้ามเวลามาพบกัน (Pokémon 4Ever) (2002)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน เทพผู้พิทักษ์นครแห่งน้ำ ลาติอัสกับลาติออส (Pokémon Heroes) (2003)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน ดวงดาวอธิษฐานเจ็ดราตรี จิราชิ (Pokémon: Jirachi Wishmaker) (2004)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน ผู้มาเยือนจากฟากฟ้า ดีออชิส (Pokémon: Destiny Deoxys) (2005)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน มิวกับผู้กล้าแห่งปราณ ลูคาริโอ (Pokémon: Lucario and the Mystery of Mew) (2006)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน โปเกมอนเรนเจอร์กับเจ้าชายแห่งท้องทะเล มานาฟี (Pokémon Ranger and the Temple of the Sea) (2007)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน เดียลก้า VS พาลเกีย VS ดาร์กไร (Pokémon: The Rise of Darkrai) (2008)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน กิราติน่ากับช่อดอกไม้แห่งท้องฟ้าน้ำแข็ง เชมิน (Pokemon: Giratina and the Sky Warrior) (2009)
โปเกมอน มูฟวี่ ตอน สู่กาลอวกาศที่เหนือกว่า (Pokemon: Arceus and the Jewel of Life) (2010)
โปเกม่อน มูฟวี่ ตอน ผู้ปกครองแห่งมายาโซรูอาร์ค (Pokemon: The Ruler of Illusion: Z) (2010)
ซีดี
มีการผลิตซีดีโปเกมอนขายในอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นเกี่ยวกับโปเกมอนฉบับภาพยนตร์ 3 เรื่องแรก หาซื้อได้บ่อย ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2550 ซีดีที่ผลิตขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ได้วางขายโดยจุเพลงประกอบภาษาอังกฤษ 18 แทร็ค และเป็นการวางขายซีดีฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกที่วางขายมากกว่า 5 ปี เพลงประกอบภาพยนตร์โปเกมอนได้วางขายในญี่ปุ่นด้วย

ปี เรื่อง
29 มิถุนายน พ.ศ. 2542[18] Pokémon 2.B.A. Master
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[19] เพลงประกอบภาพยนตร์ Pokémon: The First Movie
8 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2543 Pokémon World
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 Pokémon: The First Movie Original Motion Picture Score
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เพลงประกอบภาพยนตร์ Pokémon The Movie 2000
พ.ศ. 2543 Pokémon The Movie 2000 Original Motion Picture Score
23 มกราคม พ.ศ. 2544 Totally Pokémon
3 เมษายน พ.ศ. 2544 Pokémon 3: The Ultimate Soundtrack
9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 Pokémon Christmas Bash
27 มีนาคม พ.ศ. 2550 Pokémon X: Ten Years of Pokémon

โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม
ดูบทความหลักที่ โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม
โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมเป็นเกมรูปแบบการ์ดเกม มีจุดมุ่งหมายคือการต่อสู้ของโปเกมอนในวิดีโอเกม ผู้เล่นใช้การ์ดโปเกมอนที่จะมีค่าความแข็งแกร่ง และค่าความอ่อนแออยู่ในการ์ดแต่ละใบ เกมนี้วางจำหน่ายครั้งแรกในอเมริกาเหนือโดยบริษัท วิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ (อังกฤษ: Wizards of the Coast) ในปี พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม เมื่อโปเกมอนภาครูบี้และซะฟไฟร์วางจำหน่ายออกมา นินเทนโด USA นำการ์ดเกมจากวิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ไปผลิตแทน และเริ่มตีพิมพ์จำหน่ายเอง การขยายกิจการของบริษัทในเวลาต่อมาคือการเปิดตัว โปเกมอนอีเทรดดิงการ์ดเกม ซึ่งเป็นการ์ดที่สามารถใช้งานร่วมกัยเครื่องนินเทนโด อีรีดเดอร์ ต่อมานินเทนโดหยุดการผลิตของการ์ดเหล่านี้และต่อการปล่อย EX ไฟร์เร้ดและลีฟกรีน นินเทนโดวางจำหน่ายเทรดดิงการ์เกมเวอร์ชันเกมบอยคัลเลอร์ในปี พ.ศ. 2541 และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในปี พ.ศ. 2543 ด้วย โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมนี้ยังประกอบด้วยการ์ดเวอร์ชันดิจิทัลจากการ์ดธรรมดา และการ์ดใหม่ 2 ชนิดแรก (จังเกิล และ ฟอสซิล) และยังมีการ์ดมากมายที่ผลิตขึ้นเฉพาะ ซึ่งต่อมาได้วางขายเฉพาะในญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2544

มังงะ
โปเกมอนฉบับมังงะ (หนังสือการ์ตูน) นั้นมีหลากหลาย โดยผู้ที่ผลิตวางขายในภาษาอังกฤษคือ Viz Communications และ Chuang Yi มังงะนั้นแตกต่างจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมากในเรื่องของผู้ฝึกโปเกมอน สามารถฆ่าโปเกมอนของฝ่ายตรงข้ามได้

คำวิจารณ์และข้อถกเถียง
หลักศีลธรรมจรรยา
โปเกมอนได้รับคำวิจารณ์จากศาสนิกชนของศาสนาคริสต์ ยูดาย และอิสลาม ชาวคริสต์เห็นว่าเกี่ยวกับความลึกลับและรุนแรงของโปเกมอน รวมถึงโปเกมอนวิวัฒนาการของโปเกมอน (ซึ่งเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการ) ที่กล่าวถึงการกำเนิดของสรรพสิ่งที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ชาววาติกันแย้งว่าโปเกมอนเทรดดิงการ์ด และวิดีโอเกมนั้นมีจินตนาการสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม และไม่มีผลกระทบข้างเคียงในเรื่องหลักศีลธรรมเลย ในสหราชอาณาจักร เกม "คริสเตียน เพาเวอร์ การ์ด" ได้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2542 เป็นคำตอบที่ใช้อ้างว่าโปเกมอนเป็นซาตาน เกมนี้ดูคล้ายกับโปเกมอนเทรดดิงการ์ดแต่มีส่วนสำคัญบนการ์ดมาจากคัมภีร์ไบเบิล ในปี พ.ศ. 2542 กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อต้านการสบประมาทของชาวยิวได้กดดันให้นินเทนโดทำการ์ดโปเกมอนสำหรับตัวโกลแบท และเมตามอน เพราะการ์ดเหล่านี้บรรยายให้เห็นภาพเหมือนด้านซ้ายของสัญลักษณ์สวัสติกะ หมายถึงการต่อต้านเซมิทีส แม้ว่านินเทนโดจะตั้งใจว่าจะวางขายการ์ดเหล่านี้เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่นินเทนโดก็มีกำหนดการปล่อยเวอร์ชันอเมริกาเหนือในปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประกาศห้ามนำเกมโปเกมอนและการ์ดเข้าประเทศ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการสนับสนุนกลุ่มไซออนนิสม์ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎของชาวมุสลิม โปเกมอนยังถูกกล่าวหาเนื่องจากส่งเสริมการชนไก่ และพวกวัตถุนิยม ในปี พ.ศ. 2542 เด็กชายอายุ 9 ขวบ 2 คน ฟ้องร้องนินเทนโด เพราะเขาอ้างว่าเกมโปเกมอนเทรดดิงการ์ดทำให้เขาติดการพนันงอมแงม

เกี่ยวกับสุขภาพ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นจากการดูการ์ตูนโปเกมอนตอนที่ 38 (ญี่ปุ่น: でんのうせんしポリゴンComputer Soldier Porygon: EP038) เป็นผลให้ตอนนี้ไม่ได้ออกอากาศอีก ในโปเกมอนตอนนี้ จะมีการระเบิดขึ้นและมีแสงสีแดงกับสีน้ำเงินสลับกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการระบุว่าแสงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการลมชัก แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อนก็ตาม จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo และเรื่องเซาธ์ปาร์ค ตอน Chinpokomon

มอนสเตอร์ อิน มายพ็อคเก็ต
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 บริษัทผู้ผลิตของเล่นขนาดเล็ก Morrison Entertainment Group ที่ตั้งอยู่ที่แมนฮัตตันบีช แคลิฟอร์เนีย ฟ้องร้องนินเทนโดว่าแฟรนไชส์โปเกมอนละเมิดตัวละครของมอนสเตอร์อินมายพ็อคเก็ต ที่ตนเป็นผู้ผลิต โดยผู้พิพากษาตัดสินว่าไม่ใช่การละเมิด ดังนั้น Morrison จึงฟ้องอุทธรณ์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544

อิทธิพลทางวัฒนธรรม
เนื่องจากความนิยมของโปเกมอน ส่งผลให้มีโปเกมอนเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม ตัวละครของโปเกมอนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นบอลลูนรูปพิกะจูในขบวนพาเหรดวันขอบคุณพระเจ้าของเมซี่ (Macy's Thanksgiving Day Parade) เครื่องบินโบอิง 747-400 รูปโปเกมอน สินค้าโปเกมอนนับพัน และสวนสนุกโปเกมอนในเมืองนาโกยะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2548 และในไทเป พ.ศ. 2549 โปเกมอนยังปรากฏบนปกของนิตรสารไทม์ของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2542 การแสดงตลกชื่อ Drawn Together มีตัวละครชื่อ ลิงลิง (Ling-Ling) ที่มีลักษณะล้อเลียนพิกะจู และการแสดงอื่น ๆ อีกหลายการแสดงเช่น ReBoot เดอะซิมป์สันส์ South Park The Grim Adventures of Billy and Mandy และ All Grown Up! ที่ได้อ้างถึงโปเกมอนระหว่างเนื้อเรื่อง โปเกมอนยังถูกนำเสนอในรายการ I Love the '90s: Part Deux ของสถานีโทรทัศน์ VH1 อีกด้วย การแสดงสดชื่อว่า โปเกมอนไลฟ์ (Pokémon Live!) ได้ทัวร์ไปในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2543 โดยแสดงตามเนื้อเรื่องโปเกมอนฉบับอะนิเมะ แต่มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับต่อเนื่องของเนื้อเรื่องในการแสดงนี้

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 นินเทนโดเปิดร้านค้าชื่อว่า Pokémon Center ณ ศูนย์กลางร็อกเฟลเลอร์ในนิวยอร์ก โดยออกแบบขึ้นหลังร้าน Pokémon Center 2 แห่งในโตเกียวและโอซาก้า ซึ่งอาคารนี้ในเนื้อเรื่องเป็นที่ที่ผู้ฝึกโปเกมอนนำโปเกมอนมารักษาอาการเจ็บป่วย ร้านค้านี้ขายสินค้าที่ระลึกเกี่ยวกับโปเกมอน มี 2 ชั้น โดยเรียงเป็นลำดับสินค้าตั้งแต่เสื้อยืดสะสมไปจนถึงตุ๊กตาโปเกมอน ร้านแห่งนี้ยังเปิดตัว เครื่องแจกจ่ายโปเกมอน (Pokémon Distributing Machine) ที่ผู้เล่นจะวางเกมโปเกมอนลงไปเพื่อรับไข่โปเกมอนที่แจกขึ้นเฉพาะเวลานั้นเท่านั้น นอกจากนี้ร้านแห่งนี้ยังมีโต๊ะสำหรับให้ผู้เล่นเข้าไปเล่นโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเพื่อดวลกัน ร้าน Pokémon Center นี้ปิดตัวลงและสร้าง Nintendo World Store ขึ้นมาแทนที่ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
Poseidon
Poseidon
บอสมาเฟีย
บอสมาเฟีย

PØîNTŠ PØîNTŠ : 0
PŐ$T PŐ$T : 1252
ชื่อเสียง ชื่อเสียง : 5
สมัครเมื่อ สมัครเมื่อ : 27/06/2010
อายุ อายุ : 30
ที่อยู่ ที่อยู่ : ฐานบัญชาการวองโกเล่ แฟมิลี่

https://l3asic.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ